เมนู

กับนิโครธปริพาชกด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตมนุษย์. ก็ใน
พระบาลีนี้ทรงเห็นด้วยพระสัพพัญญุตญาณ จึงได้ทรงทราบ. ทรงทำอะไร
จึงได้ทรงทราบ ? ทรงทำกิจในปัจฉิมยาม.

พรรณนาพุทธกิจ 5 ประการ


ขึ้นชื่อว่ากิจนี้มี 2 อย่าง คือ กิจที่มีประโยชน์และกิจที่ไม่มีประ-
โยชน์. บรรดากิจ 2 อย่างนั้น กิจที่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเพิกถอนแล้วด้วยอรหัตตมรรค ณ โพธิบัลลังก์. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงมีกิจแต่ที่มีประโยชน์เท่านั้น. กิจที่มีประโยชน์ของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า
นั้นมี 5 อย่าง คือ
1. กิจในปุเรภัต
2. กิจในปัจฉาภัต
3. กิจในปุริมยาม
4. กิจในมัชฌิมยาม
5. กิจในปัจฉิมยาม

ในบรรดากิจ 5 อย่างนั้น กิจในปุเรภัตมีดังนี้ ก็พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
เสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระสรีระ มีบ้วนพระโอฐ
เป็นต้น เพื่อทรงอนุเคราะห์อุปฐากและเพื่อความสำราญแห่งพระสรีระ
เสร็จแล้วทรงประทับยับยั้งอยู่บนพุทธอาสน์ที่เงียบสงัด จนถึงเวลาภิกษา-
จาร ครั้นถึงเวลาภิกษาจาร ทรงนุ่งสบง ทรงคาดประคดเอว ทรง
ครองจีวร ทรงถือบาตร บางครั้งเสด็จพระองค์เดียว บางครั้งแวดล้อม

ไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังคามหรือนิคม บางครั้งเสด็จ
เข้าไปตามปกติ บางครั้งก็เสด็จเข้าไปด้วยปาฏิหาริย์หลายประการ. คือ
อย่างไร ? เมื่อพระบรมโลกนาถเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ลมที่พัดอ่อน ๆ
พัดไปเบื้องหน้าแผ้วพื้นพสุธาให้สะอาดหมดจด พลาหกก็หลั่งหยาดน้ำลง
ระงับฝุ่นละอองในมรรคา กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน กระแสลมก็
หอบเอาดอกไม้ทั้งหลายมาโรยลงในบรรดา ภูมิประเทศที่สูงก็ต่ำลง ที่ต่ำก็
สูงขึ้น ภาคพื้นก็ราบเรียบสม่ำเสมอในขณะที่ทรงย่างพระยุคลบาท หรือ
มีปทุมบุปผชาติอันมีสัมผัสนิ่มนวลชวนสบายคอยรองรับพระยุคลบาท พอ
พระบาทเบื้องขวาประดิษฐานลงภายในธรณีประตู พระฉัพพรรณรังสีก็
โอภาสแผ่ไพศาล ซ่านออกจากพระพุทธสรีระพุ่งวนแวบวาบประดับ
ปราสาทราชมณเฑียร เป็นต้น ดังแสงเลื่อมพรายแห่งทอง และดั่งล้อม
ไว้ด้วยผืนผ้าอันวิจิตร บรรดาสัตว์ทั้งหลาย มี ช้าง ม้า และนก เป็นต้น
ซึ่งอยู่ในสถานที่แห่งตน ๆ ก็พากันเปล่งสำเนียงอย่างเสนาะ ทั้งดนตรีที่
ไพเราะ เช่น เภรี และพิณ เป็นต้น ก็บรรเลงเสียงเพียงดนตรีสวรรค์
และสรรพาภรณ์แห่งมนุษย์ทั้งหลาย ก็ปรากฏสวมใส่ร่างกายในทันที ด้วย
สัญญาณอันนี้ ทำให้คนทั้งหลายทราบได้ว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในย่านนี้ เขาเหล่านั้นต่างก็แต่งตัวนุ่งห่มเรียบร้อย
พากันถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น ออกจากเรือนเดินไปตามถนน
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น โดยเคารพ
ถวายบังคมแล้ว กราบทูลขอสงฆ์ว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์
โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ 10 รูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ 20 รูป แก่พวกข้าพระ-

องค์ 50 รูป แก่พวกข้าพระองค์ 100 รูป ดังนี้ แล้วรับบาตรแม้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะน้อมนำถวายบิณฑบาตโดยเคารพ. พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงตรวจดูจิตสันดานของสัตว์เหล่า
นั้น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้บางพวกตั้งอยู่ในสรณคมน์ บาง
พวกตั้งอยู่ในศีล 5 บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคา-
มิผล อย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกบวชแล้วทั้งอยู่ในพระอรหัต ซึ่งเป็นผล
เลิศ ทรงอนุเคราะห์มหาชนดังพรรณนามาฉะนั้นแล้ว ทรงลุกจากอาสนะ
เสด็จไปยังพระวิหาร ครั้นแล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันบวรซึ่งปูลาด
ไว้ในมัณฑลศาลา ทรงรอคอยการเสร็จภัตกิจของภิกษุทั้งหลาย ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายเสร็จกิจเรียบร้อยแล้ว ภิกษุผู้อุปฐากก็กราบทูลพระผู้มีพระภาค-
เจ้า
ให้ทรงทราบ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี.
นี้เป็นกิจในปุเรภัตก่อน.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงบำเพ็ญกิจในปุเรภัต
เสร็จแล้วอย่างนี้ ประทับนั่ง ณ ศาลาปรนนิบัติใกล้พระคันธกุฎี ทรง
ล้างพระบาทแล้วประทับยืนบนตั่งรองพระบาท ประทานโอวาทภิกษุสงฆ์
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์คนและประโยชน์
ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
และว่า
ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ
ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลภา
ทุลฺลภา สทฺธาสมฺปตฺติ ปพฺพชฺช จ ทุลฺลภา
ทุลฺลภํ สทฺธมฺมสฺสวนํ

ความเป็นมนุษย์ หาได้ยาก
ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก
ความถึงพร้อมด้วยขณะ หาได้ยาก
พระสัทธรรม หาได้ยากอย่างยิ่ง
ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา หาได้ยาก
การบวช หาได้ยาก
การฟังพระสัทธรรม หาได้ยาก

ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกทูลถามกรรมฐานกะพระผู้มีพระภาคเจ้า.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทานกรรมฐานที่เหมาะแก่จริงของภิกษุเหล่า
นั้น. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งปวงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปยัง
ที่พักกลางคืนและกลางวันของตน ๆ. บางพวกก็ไปป่า บางพวกก็ไปสู่โคน
ไม้ บางพวกก็ไปยังที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มีภูเขา เป็นต้น บางพวกก็ไปยังภพ
ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ฯ ล ฯ บางพวกก็ไปยังภพของเทวดาชั้น
วสวัดดี ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระ
คันธกุฎี
ถ้ามีพระพุทธประสงค์ ก็ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีห-
ไสยา
ครู่หนึ่ง โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ครั้นมีพระวรกายปลอดโปร่งแล้ว
เสด็จลุกขึ้นตรวจดูโลกในภาคที่สอง. ณ คาม หรือนิคมที่พระองค์เสด็จ
เข้าไปอาศัยประทับอยู่ มหาชนพากันถวายทานก่อนอาหาร ครั้นเวลาหลัง
อาหารนุ่งห่มเรียบร้อย ถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น มาประชุมกัน
ในพระวิหาร. ครั้นเมื่อบริษัทพร้อมเพรียงกันแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปด้วยพระปาฏิหาริย์อันสมควร ประทับนั่ง แสดงธรรมที่ควรแก่
กาลสมัย ณ บวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ณ ธรรมสภา ครั้นทรงทราบ

กาลอันควรแล้วก็ทรงส่งบริษัทกลับ . เหล่ามนุษย์ต่างก็ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า
แล้วพากันหลีกไป. นี้เป็นกิจหลังอาหาร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ครั้นเสร็จกิจหลังอาหารอย่างนี้
แล้ว ถ้ามีพระพุทธประสงค์จะโสรจสรงพระวรกาย ก็เสด็จลุกจากพุทธ-
อาสน์เข้าซุ้มเป็นที่สรงสนาน ทรงสรงพระวรกายด้วยน้ำที่ภิกษุผู้เป็น
พุทธุปฐากจัดถวาย. ฝ่ายภิกษุผู้เป็นพุทธุปฐากก็นำพุทธอาสน์มาปูลาดที่
บริเวณพระคันธกุฎี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองจีวรสองชั้นอันย้อมดี
แล้ว ทรงคาดประคดเอว ทรงครองจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วเสด็จไป
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้น. ทรงหลีกเร้นอยู่ครู่หนึ่งแต่ลำพังพระองค์
เดียว. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันมาจากที่นั้น ๆ แล้วมาสู่ที่ปรนนิบัติ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกก็ทูลถามปัญหา บาง
พวกก็ทูลขอกรรมฐาน บางพวกก็ทูลขอฟังธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยับยั้งตลอดยามต้น ทรงให้ความประสงค์ของภิกษุเหล่านั้นสำเร็จ.
นี้เป็นกิจในปฐมยาม.
ก็เมื่อสิ้นสุดกิจในปฐมยาม ภิกษุทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
แล้วหลีกไป เหล่าเทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น เมื่อได้โอกาสก็
พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างทูลถามปัญหาตามที่เตรียมมา โดย
ที่สุดแม้อักขระ 4 ตัว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบปัญหาแก่เทวดา
เหล่านั้น ให้มัชฌิมยามผ่านไป นี้เป็นกิจในมัชฌิมยาม.
ส่วนปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ทรงยับยั้งอยู่ด้วยการเสด็จจงกรมส่วนหนึ่ง เพื่อทรงเปลื้องจากความเมื่อย
ล้าแห่งพระสรีระอันถูกอิริยาบถนั่งตั้งแต่ก่อนอาหารบีบคั้นแล้ว. ในส่วน

ที่สอง เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสยา
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา. ในส่วนที่สาม เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งแล้วทรงใช้
พุทธจักษุตรวจดูสัตว์โลกเพื่อเล็งเห็นบุคคลผู้สร้างสมบุญญาธิการไว้ ด้วย
อำนาจทานและศีล เป็นต้น ในสำนักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ. นี้
เป็นกิจในปัจฉิมยาม.
ก็วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังกิจก่อนอาหารให้สำเร็จใน
กรุงราชคฤห์แล้ว ถึงเวลาหลังอาหารเสด็จดำเนินมายังหนทาง ตรัสบอก
กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลายในเวลาปฐมยาม ทรงแก้ปัญหาแก่เทวดาทั้ง
หลายในมัชฌิมยาม เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม ทรงจงกรมอยู่ในปัจฉิมยาม ทรง
ได้ยินภิกษุประมาณ 500 รูปสนทนาพาดพิงถึงพระสัพพัญญุตญาณนี้ ด้วย
พระสัพพัญญุตญาณนั่นแล ได้ทรงทราบแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้
กล่าวว่า เมื่อทรงกระทำกิจในปัจฉิมยาม ได้ทรงทราบแล้ว. ก็และครั้น
ทรงทราบแล้ว ได้มีพระพุทธดำริดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ กล่าวคุณพาดพิงถึง
สัพพัญญุตญาณของเรา ก็กิจแห่งสัพพัญญุตญาณไม่ปรากฏแก่ภิกษุเหล่านี้
ปรากฏแก่เราเท่านั้น เมื่อเราไปแล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็จักบอกการสนทนา
ของตนตลอดกาล. แต่นั้นเราจักทำการสนทนาของภิกษุเหล่านั้นให้เป็น
ต้นเหตุ แล้วจำแนกศีล 3 อย่าง บันลือสีหนาทอันใคร ๆ คัดค้านไม่ได้
ในฐานะ 62 ประการ ประชุมปัจจยาการกระทำพุทธคุณให้ปรากฏ จัก
แสดงพรหมชาลสูตร อันจะยิ่งหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว ให้จบลงด้วย
ยอดคือพระอรหัต ปานประหนึ่งยกภูเขาสิเนรุราชขึ้น และดุจฟาดท้องฟ้า
ด้วยยอดสุวรรณกูฏ เทศนานั้นแม้เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ก็จักยังอมต-
มหานฤพานให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายตลอดห้าพันปี ครั้นมีพระพุทธดำริ

อย่างนี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังศาลามณฑลที่ภิกษุเหล่านั้นนั่งอยู่ ด้วย
ประการฉะนี้.
บทว่า เยน ความว่า ศาลามณฑลนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
พึงเสด็จเข้าไปโดยทางทิศใด.
อีกอย่างว่า บทว่า เยน นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง
สัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น ในบทนี้จึงมีเนื้อความว่า ได้เสด็จไป ณ
ประเทศที่มีศาลามณฑลนั้น ดังนี้ .
คำว่า ปญฺญตฺเต อาสเน นิสีทิ ประทับเหนืออาสนะที่บรรจงจัดไว้
ความว่า ข่าวว่า ในครั้งพุทธกาล สถานที่ใด ๆ ที่มีภิกษุอยู่แม้รูปเดียวก็
จัดพุทธอาสน์ไว้ทุกแห่งทีเดียว. เพราะเหตุไร ? เขาว่า พระผู้มีพระภาค-
เจ้า
ทรงมนสิการถึงเหล่าภิกษุที่รับกรรมฐานในสำนักของพระองค์แล้ว อยู่
ในที่สำราญว่า ภิกษุรูปโน้นรับกรรมฐานในสำนักของเราไป สามารถจะ
ยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นหรือไม่หนอ ครั้นทรงเห็นภิกษุรูปนั้นละกรรมฐาน
ตรึกถึงอกุศลวิตกอยู่ ลำดับนั้น มีพระพุทธดำริว่า กุลบุตรผู้นี้รับกรรม-
ฐานในสำนักของศาสดาเช่นเรา เหตุไฉนเล่า จักถูกอกุศลวิตกครอบงำให้
จมลงในวัฏฏทุกข์อันหาเงื่อนต้นไม่ปรากฏ เพื่อจะทรงอนุเคราะห์ภิกษุ
รูปนั้นจึงทรงแสดงพระองค์ ณ ที่นั้นทีเดียว ประทานโอวาทกุลบุตรนั้น
แล้วเสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศกลับไปยังที่ประทับของพระองค์ต่อไป.
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานโอวาทอยู่
อย่างนี้ คิดกัน ว่า พระบรมศาสดาทรงทราบความคิดของพวกเรา เสด็จมา
แสดงพระองค์ประทับยืน ณ ที่ใกล้พวกเรา เป็นภาระที่พวกเราจะต้อง

เตรียมพุทธอาสน์ไว้ สำหรับทูลเชิญในขณะนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระองค์โปรดประทับนั่งบนพุทธอาสน์นี้ ขอพระองค์โปรดประทับนั่ง
บนพุทธอาสน์นี้. ภิกษุเหล่านั้นต่างจัดพุทธอาสน์ไว้แล้วอยู่. ภิกษุที่มีตั้ง
ก็จัดตั่งไว้ ที่ไม่มีก็จัดเตียง หรือแผ่นกระดาน หรือไม้ หรือแผ่นศิลา
หรือกองทรายไว้ เมื่อไม่ได้ดังนั้นก็ดึงเอาแม้ใบไม้เก่า ๆ มาปูผ้าบังสุกุล
ตั้งไว้บนที่นั้นเอง แต่ในพระตำหนักหลวงในพระราชอุทยานอัมพลัฏ-
ฐิกา
นี้ มีพระราชอาสน์อยู่ ภิกษุเหล่านั้นช่วยกันปัดกวาดฝุ่นละออง พระ
ราชอาสน์นั้นปูลาดไว้ นั่งล้อมสดุดีพระพุทธคุณ ปรารภถึงพระอธิมุติ-
ญาณ (ญาณรู้อัธยาศัยสัตว์ ) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านพระอานนท์
หมายถึงพระราชอาสน์นั้น จึงกล่าวว่า ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขา
บรรจงจัดถวาย. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอย่างนี้ ทั้งที่ทรงทราบ
อยู่ ก็ตรัสถามภิกษุทั้งหลายเพื่อให้เกิดการสนทนา และภิกษุเหล่านั้นก็
พากันกราบทูลแด่พระองค์ทุกเรื่อง. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์ จึง
กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นประทับนั่งแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
ประชุมบทเหล่านั้น บทว่า กายนุตฺถ ความว่า พวกเธอนั่งสนทนา
กันถึงเรื่องอะไร ? บาลีเป็น กายเนฺวตฺถ ก็มี. พระบาลีนั้นมีเนื้อความ
ว่า พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไรในที่นี้. บาลีเป็น กายโนตฺถ ก็มี.
ในธรรมบท แม้พระบาลีนั้นก็มีเนื้อความดังก่อนนั่นเอง.
บทว่า อนฺตรา กถา ความว่า สนทนาระหว่างการมนสิการกรรม-
ฐาน อุเทศและปริปุจฉา เป็นต้น คือ ในระหว่างเป็นเรื่องอื่นเรื่องหนึ่ง.
บทว่า วิปฺปกตา ความว่า ยังไม่จบ คือยังไม่ถึงที่สุด เพราะตถาคต
มาเสียก่อน.

ด้วยบทนั้น ทรงแสดงไว้อย่างไร ?
อธิบายว่า ตถาคตมาเพื่อหยุดการสนทนาของพวกเธอหามิได้ แต่
มาด้วยหวังว่าจักแสดงให้การสนทนาของพวกเธอจบลง คือทำให้ถึงที่สุด
ด้วยความเป็นสัพพัญญู ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประทับนั่ง ทรง
ห้ามอย่างพระสัพพัญญู.
แม้ในคำว่า พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สนทนาค้างอยู่ ก็พอดีพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จมาถึงนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การสนทนาพระพุทธคุณ ปรารภพระ
สัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกข้าพระองค์ยังค้างอยู่ หา
ใช่ติรัจฉานกถา มีราชกถาเป็นต้นไม่ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา
ถึง ขอพระองค์ได้โปรดแสดงให้การสนทนาของพวกข้าพระองค์นั้นจบลง
ณ กาลบัดนี้เถิด. ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ท่านพระอานนท์ได้ภาษิต
คำอันเป็นนิทาน ซึ่งประดับด้วยกาละ เทศะ ผู้แสดง เรื่อง บริษัท และ
ที่อ้างอิงเพื่อให้เข้าใจโดยง่าย ซึ่งพระสูตรนี้ที่ชี้แจงอานุภาพแห่งพระพุทธ-
คุณ อันสมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ อุปมาดังท่าน้ำมีภูมิภาคอัน
บริสุทธิ์สะอาด เต็มไปด้วยทรายดังใยแก้วมุกดาอันเกลื่อนกล่น มีบันได
แก้วอันงามพิลาสรจนาด้วยพื้นศิลาอันบริสุทธิ์ เพื่อให้หยั่งลงได้โดยสะดวก
สู่สระโบกขรณี อันมีน้ำมีรสดีใสสะอาดรุ่งเรื่องด้วยดอกอุบลและดอกปทุม
ฉะนั้น และอุปมาดังบันไดอันงามรุ่งเรื่องเกิดแสงแห่งแก้วมณี มีแผ่น
กระดานที่เกลี้ยงเกลาอ่อนนุ่มที่ทำด้วยงา อันเถาทองคำรัดไว้เพื่อให้ขึ้นได้
โดยสะดวกสู่ปราสาทอันประเสริฐ มีฝาอันจำแนกไว้เป็นอย่างดี แวดล้อม
ด้วยไพทีอันวิจิตร ทั้งทรวดทรงก็โสภิตโปร่งสล้าง ราวกะว่าประสงค์จะ

สัมผัสทางกลุ่มดาว และอุปมาดังมหาวิหาร อันมีบานประตูไพศาล ติดตั้ง
เป็นอย่างดี โชติช่วงด้วยรัศมีแห่งทองเงินแก้วมณีแก้วมุกดา และแก้ว
ประพาฬ เป็นต้น เพื่อเข้าได้โดยสะดวกสู่เรือนใหญ่ที่งามไปด้วยอิสริย-
สมบัติอันโอฬาร มีการกรีดกรายร่ายรำของเหล่าเคหชนผู้มีเสียงไพเราะ
เจรจาร่าเริงระคนกับเสียงกระทบกันแห่งอาภรณ์ มีทองกรและเครื่อง
ประดับเท้าเป็นต้นฉะนั้น.
จบวรรณนาความของคำเป็นนิทานแห่งพระสตรี

พรรณนาเหตุที่ตั้งพระสูตร


บัดนี้ ถึงลำดับโอกาสที่จะพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าอื่นจะพึง
ติเราก็ดี ดังนี้ . ก็การพรรณนาพระสูตรนี้นั้น เมื่อได้พิจารณาเหตุที่ทรง
ตั้งพระสูตรแล้วจึงกล่าวย่อมแจ่มแจ้ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักวิจารณ์เหตุที่ทรง
ตั้งพระสูตรเสียก่อน.

ก็เหตุที่ทรงตั้งพระสูตรมี 4 ประการ คือ


1. อัตตัชฌาสยะ

เป็นไปตามพระอัธยาศัยของพระองค์
2. ปรัชฌาสยะ เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น
3. ปุจฉาวสิกะ เป็นไปด้วยอำนาจการถาม
4. อัตถุปปัตติกะ เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น
ในบรรดาเหตุ 4 ประการนั้น พระสูตรเหล่าใดที่คนเหล่าอื่นมิได้
ทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยพระอัธยาศัยของพระ